เมนู

ฐานว่า กรรมฐานนี้ มีลักษณะอย่างนั้น. ภิกษุเมื่อเรียนกรรมฐาน ซึ่งมีสนธิ
5 อย่างนี้ แม้ตนเองก็ไม่ลำบาก ทั้งไม่ต้องรบกวนอาจารย์ให้ลำบาก. เพราะ
ฉะนั้น ควรเรียนอาจารย์ให้บอกแต่น้อย สาธยายตลอดเวลาเป็นอันมาก ครั้น
เรียนกรรมฐาน ซึ่งมีสนธิ 5 อย่างนั้นแล้ว ถ้าในอาวาสนั้น มีเสนาสนะเป็น
ต้นเป็นที่สบายไซร้ ควรอยู่ในอาวาสนั้นนั่นแล ถ้าในอาวาสนั้น ไม่มีเสนาสนะ
เป็นที่สบายไซร้ ควรบอกลาอาจารย์ ถ้าเป็นผู้มีปัญญาอ่อน ควรไปสิ้นระยะ-
โยชน์หนึ่งเป็นอย่างยิ่ง ถ้าเป็นผู้มีปัญญากล้าก็ควรไปแม้ไกล (กว่านั้น) ได้
แล้วเข้าไปยังเสนาสนะที่ประกอบด้วยองค์แห่งเสนาสนะ 5 อย่าง เว้นเสนาสนะ
ที่มีโทษ 18 อย่าง แล้วพักอยู่ในเสนาสนะนั้น ตัดปลิโพธหยุมหยิมเสีย ฉัน-
ภัตตาหารเสร็จแล้ว บรรเทาความเมาอาหาร ทำจิตให้ร่าเริง ด้วยการอนุสรณ์
ถึงคุณพระรัตนตรัย ไม่หลงลืมกรรมฐานแม้บทหนึ่ง แต่ที่เรียนเอาจากอาจารย์
พึงมนสิการอานาปานัสสติกรรมฐานนี้. ในวิสัยแห่งตติยปาราชิกนี้ มีความ
สังเขปเท่านี้. ส่วนความพิสดาร นักศึกษาผู้ต้องการกถามรรคนี้ พึงถือเอาจาก
ปกรณ์วิเสสชื่อวิสุทธิมรรคเถิด.

[วิธีมนสิการอานาปานัสสติกรรมฐาน 8 อย่าง]


ก็ในคำที่ข้าพเจ้ากล่าวว่า พึงมนสิการอานาปานัสสติกรรมฐานนี้ มี
มนสิการวิธีดังต่อไปนี้:- คือ การนับ การตามผูก การถูกต้อง การหยุด
ไว้ การกำหนด การเปลี่ยนแปลง ความหมดจด และการเห็นธรรมเหล่านั้น
แจ่มแจ้ง.
การนับนั่นแล ชื่อว่า คณนา. การกำหนดตามไปชื่อว่า อนุพันธนา.
ฐานที่ลมถูกต้อง ชื่อว่า ผุสนา. ความแน่วแน่ชื่อว่า ฐปนา. ความเห็น
เห็นแจ้ง ชื่อว่า สัลลักขณา. มรรค ชื่อว่า วิวัฏฏนา. ผลชื่อว่า ปาริสุทธิ.
การพิจารณา ชื่อว่า เตสัญจ ปฏิปัสสนา.

[อธิบายวิธีนับลมหายใจเข้าออก]


บรรดามนสิการวิธี มีการนับเป็นต้นนั้น กุลบุตรผู้เริ่มบำเพ็ญนี้
ควรมนสิการกรรมฐานนี้โดยการนับก่อน. และเมื่อจะนับไม่ควรหยุดนับต่ำกว่า
5 ไม่ควรนับให้เกินกว่า 10 ไม่ควรแสดง (การนับ) ให้ขาดในระหว่าง.
เพราะเมื่อหยุดนับต่ำกว่า 5 จิตตุปบาทย่อมดิ้นรนในโอกาสดับแคบ ดุจฝูงโค
ที่รวมขังไว้ในคอกที่คับแคบฉะนั้น. เมื่อนับเกินกว่า 10 ไป จิตตุปบาทก็
พะวงยู่ด้วยการนับเท่านั้น. เมื่อแสดง (การนับ) ให้ขาดในระหว่าง จิตย่อม
หวั่นไปว่า กรรมฐานของเราถึงที่สุดหรือไม่หนอ. เพราะฉะนั้น ต้องเว้นโทษ
เหล่านี้เสียแล้ว จึงค่อยนับ. เมื่อจะนับ ครั้งแรก ควรนับโดยวิธีนับช้า ๆ
คือนับอย่างวิธีคนตวงข้าวเปลือก. จริงอยู่ คนตวงข้าวเปลือก ตวงเต็มทะนาน
แล้วบอกว่า 1 จึงเทลง เมื่อตวงเต็มอีก พบหยากเยื่อบางอย่าง เก็บมันทิ้งเสีย
จึงบอกว่า 1-1. ในคำว่า 2-2 เป็นต้น ก็นัยนี้. กุลบุตรแม้นี้ ก็ฉันนั้นเหมือน
กัน บรรดาลมหายใจเข้าและหายใจออก ส่วนใดปรากฏ พึงจับเอาส่วนนั้น
แล้วพึงกำหนด ลมที่กำลังผ่านไป ๆ ตั้งแต่ต้นว่า 1-1 ไป จนถึงว่า 1.10
เมื่อกุลบุตรนั้นนับอยู่โดยวิธีอย่างนี้ ลมอัสสาสะปัสสาสะ ที่กำลังผ่านออกและ
ผ่านเข้า ย่อมปรากฏ.
ลำดับนั้น กุลบุตรนี้ควรละวิธีนับช้า ๆ คือนับอย่างวิธีคนตวงข้าว
เปลือกนั้นเสีย แล้วพึงนับโดยวิธีเร็ว ๆ คือนับอย่างวิธีนายโคบาล. แท้จริง
นายโคบาลผู้ฉลาด เอาก้อนกรวดใส่พก มือถือเชือกและไม้ตะพูดไปสู่คอกแต่
เช้าตรู่ ตีโคที่หลังแล้ว นั่งอยู่บนเสาลิ่มสลัก นับแม่โคตัวมาถึงประตูแล้ว ๆ
ใส่ก้อนกรวดลงไปว่า 1-2 เป็นต้น. ฝูงโคที่อยู่ลำบากในโอกาสที่คับแคบ
ตลอดราตรี 3 ยาม เมื่อออก (จากคอก) เบียดเสียดกันและกันรีบออกเป็น